Monday, November 19, 2018

Research Article : Application of Cultural Capital Context to Design and Develop Branding and Packaging Appeal to Herbal Products of the Community Enterprise in the Area of North Central Provinces Group 2.


การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 
Application of Cultural Capital Context to Design and Develop Branding and Packaging Appeal to Herbal Products of the Community Enterprise in the Area of North Central Provinces Group 2. 
ประชิด ทิณบุตร1 และ นรรชนภ ทาสุวรรณ1
Prachid Tinnabutr1, and Nanchanop Thasuwan1
1สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
บทความวิจัยเรื่อง การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สําหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารจันทรเกษมสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 47 กรกฎาคม–ธันวาคม 2561 : Journal of Chandrakasemsarn Vol. 24 No. 47 July-December, 2018 หน้า 126-141 Link : https://www.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/160351

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านการออกแบบพัฒนาคุณภาพของตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนด้านสมุนไพร 2) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์ที่ปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ 3) ออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านสมุนไพรในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอ่างทอง) โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ และ 4) ประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อภาพรวมผลงานการออกแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมดจำนวน 8 ราย เป็นการศึกษาวิจัยแบบพัฒนาทดลองตามกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ โดยมีการประเมินความพึงพอใจในคุณภาพผลงานการออกแบบ จากตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่ม โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกและการเลือกแบบบังเอิญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อยการสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการผลงานออกแบบกราฟิกตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพทางการออกแบบด้วยการใช้วัจนสัญลักษณ์และอวัจนสัญลักษณ์ 2) ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ด้านศิลปะลวดลายไทยที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดที่เหมาะสม 3) สร้างสรรค์ร่วมกับหน้าที่ใช้สอย ให้ผู้บริโภครับรู้จดจำง่าย มีมูลค่าเพิ่ม เสริมการต่อยอดการผลิตจริงได้ ซึ่งผลงานที่ได้ออกแบบสร้างสรรค์ทั้งหมดนั้น 4) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความเห็นว่าภาพรวมคุณลักษณะของผลงานที่ออกแบบ ด้านการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ด้านกราฟิกตราสัญลักษณ์ ด้านรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของสินค้าสมุนไพร ตามกรอบแนวคิดการวิจัย เป็นผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่พึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ที่ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 สามารถเพิ่มมูลค่าแก่ตัวสินค้าและธุรกิจได้จริง

คำสำคัญ: ทุนทางวัฒนธรรม การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์ การออกแบบพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน2
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Abstract 

This research aims to 1) study the requirement of branding and packaging design development for the herbal products of community enterprise entrepreneurs. 2) study the existing cultural capital visual arts on the target area. 3) design and develop a new branding and packaging for the herbal products of 8 community enterprise entrepreneurs in upper central 2 Thailand; Chainat, Lopburi, Singburi, and Angthong, based on the existing cultural capital as an inspired creativity of the research findings concept. 4) evaluate the standard quality and efficiency opinion of the brand identity and packaging design from 8 local brands. This research uses creative experimental design process of a focus on the satisfaction from the selected, by randomly and specifically, end-user representatives with a total of 142 participants. The final designs are presented to a small group of people before collecting the evaluating questionnaires and opinions using a focus group method. The evaluation is done through both online questionnaires and in person. The descriptive statistics used in this experimental research include percentage, mean, and standard deviation.

The results found that 1) most entrepreneurs requested graphic branding and packaging design quality creation 2) by using both of the verbal and non-verbal identity elements inspired from the existing cultural capital of painting and architecture motif and the identity within the local area of the upper central 2 (Chainat, Lopburi, Singburi and Angthong province). 3) The graphics Identity, product, and package should visually appeal to the customers, be memorable, value-added, and need to be able to produce commercially. 4) Stakeholders’ satisfaction with the overall performance characteristics of the design set of typefaces, graphics branding and packaging of herbal products based on the research framework outcome is in an excellent level, resulting in a mean of 4.53, S.D. 0.66. Can increase the value added to products and their businesses stand out.

Keywords: Cultural Capital, Branding Design and Development, Packaging Form Design and Development, Herbal Products, Small Community Enterprise 2, North Central Provinces Group 2


กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารจันทรเกษมสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 47 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2561

No comments:

Post a Comment